การพัฒนา ของ เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก

เอฟ-117 เกิดขึ้นหลังจากการรบในสงครามเวียดนาม เมื่อมีความกังวลต่อขีปนาวุธพื้นสู่อากาศของโซเวียตมากขึ้น เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดหลายลำถูกมันยิงตก[7]

ในพ.ศ. 2507 ปโยทร์ ยา. ยูฟิมท์เซฟ (Pyotr Ya. Ufimtsev) นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้เขียนเรื่อง "Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction" ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นว่าการสะท้อนของเรดาร์นั้นขึ้นอยู่กับรูปร่างของวัตถุ ไม่ใช่ขนาด[8] เขายังได้ขยายงานทางทฤษฎีโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่ออาร์โนลด์ ซอมเมอร์ฟีลด์[9][10][11] ยูฟิมท์เซฟได้สาธิตว่าเขาสามารถคำนวณส่วนแบ่งของเรดาร์ตามผิวหน้าของปีกตลอดจนขอบปีกได้ ข้อสรุปคือแม้ว่าเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าก็สามารถล่องหนได้ อย่างไรก็ดีการออกแบบของเครื่องบินจะทำให้มันสูญเสียหลักอากาศพลศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1960 ก็ยังไม่สามารถควบคุมการบินของเครื่องบินอย่างเอฟ-117 หรือบี-2 สปิริทได้ อย่างไรก็ตามในทศวรรษต่อมา เมื่อล็อกฮีดประเมินเอกสารของยูฟิมท์เซฟ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และเริ่มมีการพัฒนาเครื่องบินล่องหนขึ้น[12]

ซีเนียร์เทรนด์

เอฟ-117เอที่ถูกทำสีเป็นสีเทา

เอฟ-117 เป็นโครงการลับจนถึงทศวรรษที่ 1980[13] โครงการเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ด้วยเครื่องต้นแบบที่ถูกเรียกว่า"โฮพเลสไดมอนด์" (Hopeless Diamond)[14][15] ในปีพ.ศ. 2520 ล็อกฮีดได้ผลิตต้นแบบไป 60% ภายใต้สัญญาแฮฟบลู โครงการแฮฟบลูเป็นการสาธิตเทคโนโลยีการล่องหนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519-2522 ความสำเร็จของโครงการแฮฟบลูนำไปสู่การสร้าง"ซีเนียร์เทรนด์" (Senior Trend) ของกองทัพอากาศสหรัฐ[16][17] เป็นโครงการที่สร้างเอฟ-117

การตัดสินใจที่จะสร้างเอฟ-117เอเกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และล็อกฮีดก็ได้สัญญาในการพัฒนาโครงการ รู้จักกันในชื่อ"ชรัง เวิร์คส์" (Skunk Works) ในเบอร์แบงค์รัฐแคลิฟอร์เนีย[18] โครงการนำโดยเบน ริช เขาได้เรียกบิล ชโรเดอร์ นักคณิตศาสตร์และเดนีส โอเวอร์โฮลเซอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพื่อสานต่องานของยูฟิมท์เซฟ พวกเขาได้ออกแบบโครงการคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเอคโค่ ซึ่งทำให้มันสามารถออกแบบเครื่องบินที่แบนราบได้ ซึ่งถูกทำให้กระจายการสะท้อนของเรดาร์ถึง 99%[12][19][20]

เอฟ-117 ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 เพียง 31 เดือนหลังจากที่มีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เอฟ-117เอลำแรกถูกส่งมอบในปี 2525 และได้ไฟเขียวให้ปฏิบัติการได้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526[21] กองทัพอากาศปฏิเสธการมีตัวตนของมันจนถึงปีพ.ศ. 2531 เมื่อมีรูปถ่ายถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 เครื่องบินสองลำได้บินเข้าฐานทัพอากาศเนลลิสในรัฐเนวาดา ท่ามกลางการมองเห็นของคนหนึ่งหมื่นคน การพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบทำให้เกิด"วายเอฟ-117เอ"ขึ้นมา[22] มีการผลิตเอฟ-117 ขึ้นมาทั้งสิ้น 59 ลำซึ่งถูกส่งมอบตลอดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533[23]

ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐกล่าวเอาไว้ว่า "การจัดการโดยศูนย์ระบบอากาศพลศาสตร์ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเตอร์สันในโอไฮโอ ได้ผสมผสานเทคโนโลยีการล่องหนเข้ากับการพัฒนาและการผลิตในปัจจุบันเพื่อให้ใช้เครื่องบินได้อย่างรวดเร็วที่สุด... โครงการเอฟ-117 นั้นได้แสดงให้เห็นว่าอากาศยานล่องหนสามารถถูกออกแบบให้มีความไว้ใจได้และใช้งานได้ง่าย"[1] สถิติการดูแลรักษาเครื่องบินเทียบได้กับเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีแบบอื่น เอฟ-117 นั้นอยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาระบบอาวุธซึ่งอยู่ที่แพลนท์ 42 ในปาร์มเดลรัฐแคลิฟอร์เนีย

เอฟ-117 หลายลำถูกทาสีเทาในช่วงทดลองเพื่อทดสอบความมีประสิทธิภาพในการล่องหนของเอฟ-117 ในตอนกลางวัน ในปีพ.ศ. 2547-2548 ได้มีโครงการพัฒนาอายุการใช้งานของเอฟ-117 หลายครั้ง รวมทั้งการพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกส์อากาศ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (March 2009)

การตั้งชื่อ

เอฟ-117เอที่ฐานทัพอากาศแลงลีย์ในเวอร์จิเนีย

เครื่องบินที่ปฏิบัติการได้จะได้รับชื่อว่า"เอฟ-117เอ"[24] เครื่องบินที่ก้าวหน้าส่วนใหญ่ของสหรัฐจะใช้การตั้งชื่อแบบหลังปี 1962 ซึ่งจะใช้ "F" ที่หมายถึงเครื่องบิบขับไล่อากาศสู่อากาศ "B" ที่หมายถึงเครื่องบินทิ้งระเบิด "A" ที่หมายถึงเครื่องบินโจมตี (ตัวอย่างเช่น เอฟ-15 บี-2 และเอ-6) เครื่องบินขับไล่ล่องหนที่มีการโจมตีภาคพื้นดินเป็นหลักจึงไม่ควรใช้ "F"

การใช้"เอฟ-117" นั้นดูเหมือนว่ามีเพื่อชี้ให้เห็นว่ามันได้รับชื่อเช่นนั้นอย่างเป็นทางการก่อนระบบตั้งชื่อปี 1962 สมมติฐานคือเพื่อเปิดเผยมันต่อสาธารณะ ว่ามันน่าจะได้ใช้ชื่อว่าเอฟ-19 ซึ่งเป็นชื่อที่ยังไม่ถูกใช้ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่มีเครื่องบินลำใดที่ใช้ชื่อ "100" หลังจากที่มีเอฟ-111 เครื่องบินของโซเวียตที่ถูกยึดได้ก็ถูกใช้ชื่อเป็นเอฟเมื่อถูกใช้โดยนักบินทดสอบของสหรัฐ

เมื่อมีเครื่องบินต่างสัญชาติบินอยู่ในบริเวณทางใต้ของเนวาดา เครื่องบินที่ถูกยึดมาจึงถูกเรียกทางวิทยุว่า 117 มันถูกใช้โดยหน่วยบิน"เรดแฮทส์/เรดอีเกิลส์ที่5588 ซึ่งมักบินเครื่องบินมิกอยู่ในบริเวณดังกล่าว การเรียกเช่นนั้นไม่มีสาเหตุอะไรและชื่อเอฟ-19 ก็ถูกพิจารณาโดยกองทัพอากาศ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการเรียก "117" ทางวิทยุนั้นได้กลายมาเป็นธรรมเนียมและเมื่อล็อกฮีดผลิตเครื่องบินออกมา เอฟ-117 ก็ถูกใช้เพื่อปิดบัง[25]

สารคดีทางโทรทัศน์ได้สัมภาษณ์สมาชิกอาวุโสจากทีมผู้สร้างเอฟ-117เอโดยกล่าวว่านักบินต้องการที่จะบินเครื่องบินใหม่มีแรงดึงดูดที่จะบินมันเมื่อใช้ชื่อ"F"มากกว่า"B"หรือ"A"[26]

เอฟ-117เอ็น ซีฮอว์ก

ในต้นทศวรรษที่ 1990 ล็อกฮีดได้เริ่มทำการพัฒนาเครื่องเอฟ-117 ที่สามารถใช้บนเรืออบรรทุกเครื่องบินได้โดยใช้ชื่อว่า"ซีฮอว์ก"เมื่อโครงการเอ/เอฟเอ็กซ์ถูกยกเลิกไป ข้อเสนอถูกยื่นให้กับกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ไม่ค่อยสนใจในความสามารถในการบินเดี่ยวของเครื่องบินแบบดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อมันต้องใช้เงินจากโครงการเทคโนโลยีเครื่องบินโจมตีก้าวหน้า เครื่องบินใหม่นี้จะแตกต่างจากเอฟ-117 ในหลายๆ ด้าน รวมทั้งห้องนักบินแบบพิเศษ ปีกที่ลู่น้อยกว่า และหางแบบใหม่[27] รุ่น"เอ็น"นั้นจะใช้เครื่องยนต์ใหม่คือเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 นอกจากนั้นเครื่องบินจะสามารถเลือกใช้จุดติดอาวุธได้มากมาย ทำให้มันสามารถบรรทุกอาวุธได้เพื่ออีก 8,000 ปอนด์ และเรดาร์ใหม่ที่สามารถจัดการกับเป้าหมายในอากาศได้ ด้วยบทบาทนั้นเอฟ-117เอ็นจะสามารถใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้อีกด้วย[27][28]

หลังจากที่ถูกนำออกโดยกองทัพเรือ ล็อกฮีดก็ยอมทำการเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งรวมทั้งความสามารถในการใช้สันดาปและความหลากหลายในการทำภารกิจของเอฟ-117เอ็น ทำให้มันไม่ได้เป็นแค่เพียงเครื่องบินโจมตีเท่านั้น[28] เพื่อเพิ่มความน่าสนใจล็อกฮีดยังได้ให้ข้อเสนอของ"เอฟ-117บี"ซึ่งจะคล้ายกับเอฟ-117เอ็นแต่ใช้บนบกแทน แบบดังกล่าวถูกเสนอให้กับกองทัพอากาศของสหรัฐและอังกฤษ[29] เอฟ-117เอ็นรุ่นใหม่นี้ถูกเรียกว่า"เอ/เอฟ-117เอ็กซ์"[30] ทั้งเอฟ-117เอ็นและเอฟ-117บีไม่มีใครซื้อมัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก http://www.airpower.at/news02/1023_f-117a/index.ht... http://www.air-attack.com/page/44/F-117A-Nighthawk... http://www.airforcetimes.com/legacy/new/1-292925-2... http://www.airspacemag.com/issues/2008/december-ja... http://www.boston.com/news/globe/ideas/articles/20... http://www.cnn.com/US/9709/14/f117.crash.update/ http://www.cnn.com/WORLD/europe/9903/27/nato.attac... http://www.defenceaviation.com/2007/02/how-was-f-1... http://military.discovery.com/convergence/stealth/... http://www.engadget.com/2008/03/11/f-117-stealth-f...